วันอาทิตย์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2558

การออกแบบแม่พิมพ์กดขึ้นรูปด้วยโปรแกรม 3D

การออกแบบแม่พิมพ์กดขึ้นรูปด้วยโปรแกรม 3D
             การออกแบบแม่พิมพ์ด้วยโปรแกรม  3D  ปัจจุบันยังไม่เป็นที่นิยมมากนักแต่ในอนาคต คาดว่าจะมีการใช้โปรแกรม  3D  ช่วยในการออกแบบมากขึ้น เพราะแต่ละโปรแกรมมีการพัฒนาให้สามารถใช้งานได้สะดวกขึ้นและรองรับกับแบบงานของลูกค้าที่นิยมส่งมาเป็น  Modeling  หรือ ภาพ 3D  มากขึ้น และ การใช้ร่วมกับงาน  CAE   และ  CAM  ได้ง่ายขึ้น    ขั้นตอนการออกแบบแม่พิมพ์  3D  จะไม่แตกต่างจาก  2D  มาก  ยกเว้นการใช้คำสั่งและการสร้างภาพที่แสดงให้เห็นเหมือนจริงมากขึ้น  มีขั้นตอนโดยสรุปดังนี้


รูปที่  2.20   โครงข่ายการเขียนแบบด้วย  CAD 3D

                (1).   สร้างหรือนำเข้าชิ้นงาน  ที่เป็น  Wire  Flame   หรือ  Surface  Modeling  ดังรูป

รูปที่  2.21 ตัวอย่างชิ้นงานเพื่อนำมาออกแบบแม่พิมพ์
                ขั้นตอนนี้เป็นการสร้างภาพชิ้นงานหรือนำเข้าจากลูกค้า  เพื่อมาแก้ไขเป็น  เป็น  Wire  Flame   หรือ  Surface  Modeling    เพื่อเตรียมส่งไปปรับแต่งเตรียมทำผิว  Punch  และ  Die
                (2)    ปรับแต่งภาพและเติมผิว(Binder) เพื่อออกแบบ  Die  Face และทำ Binder  ดังรูป
รูปที่  2.22  ตัวอย่างการออกแบบ Binder 
                หลังจากปรับแต่งให้ได้แบบงาน  สามมิติที่สมบูรณ์แล้ว  จะขยายปีกชิ้นงาน (Binder)  ออกเป็นแผ่นเปล่า (Blank)  เพื่อ เตรียมกำหนดการใส่รายละเอียดการขึ้นรูป  เช่นการเหยียบ  (Blank holder)   การใส่ลอน  (Bead)  หรือวิเคราะห์การขึ้นรูป  (CAE)
                (3). แก้ไขภาพและพื้นผิวให้สมบูรณ์  เพื่อทำการจำลองและวิเคราะห์การขึ้นรูป
รูปที่  2.23  ตัวอย่างการแก้ไขผิวงาน
ภาพแสดงการการวิเคราะห์การขึ้นรูปและโครงสร้างของโลหะที่ได้รับผลกระทบและเปลี่ยนแปลงไปตามทิศทางที่ถูกแรงกระทำทำให้เกิดรูปร่างดังรูป
                (4).  จำลองการขึ้นรูปเพื่อวิเคราะห์ปัญหา  พยากรณ์การขึ้นรูปด้วย CAE  และหาขนาดสัดส่วนที่ต้องการก่อนแปลงไปสู่  CAM
รูปที่  2.24  ตัวอย่างการวิเคราะห์ปัญหา  พยากรณ์การขึ้นรูปด้วย CAE 
ผลการจำลองการขึ้นรูปเมื่อเกิดจุดวิกฤติ  และเกิดความเสียหายต่อชิ้นงานดุงรูป 
                  (5).    วิเคราะห์ปัญหาและปรับแก้  หรือเสริมองค์ประกอบช่วยในการขึ้นรูปเช่นการพิจารณาเลือกวิธีการใส่  Bead เป็นต้นแล้วทดลองขึ้นรูปใหม่จนกว่าจะได้ชิ้นงานที่สมบูรณ์  ดังรูป 
รูปที่  2.25  ตัวอย่างการออกแบบ  Bead  ในแม่พิมพ์
                (6).   หาขนาดแผ่นเปล่ากรณีที่ต้องการหา  หรือเป็นงาน  Forming
                (7).    วาง ขั้นตอนการขึ้นรูปและ กำหนด  Die  Layout   Process   ดังรูป
               
รูปที่  2.26  ตัวอย่างการแยกส่วนขั้นตอนการขึ้นรูปของแม่พิมพ์
                จากรูปจะเป็นการกำหนดขั้นตอนการขึ้นรูป  สามมิติ แสดงให้เห็นภาชิ้นงานและขั้นตอนชัดเจน  จะประกอบด้วยการกดลากขึ้นรูป  และการตัดขอบ 
                (8).  แปลงขนาดชิ้นงานเป็น   Upper   และ  Lower  โดยการใช้คำสั่งชดเชยขนาดหรือลดขนาด   หรือ  Offset   ค่าลงไปเลยก็ได้โดยยึดตัวที่มีขนาดบังคับเป็น  ศูนย์  (เหมือน 2D)  แล้วกำหนดให้ชิ้นงานตัวผู้เป็น  Punch  และตัวเมียเป็น  Die   และต้องจำให้ได้ว่าตัวใดที่ขนาดคงที่เพื่อไม่ให้ผิดพลาดในการแปลงภาพไปเป็นคำสั่งกัดงาน  จะไม่ทำให้สับสนและเผื่อค่าผิดพลาดได้

(9).   แยกงานแต่ละขั้นตอนนำไปออกแบบแม่พิมพ์แต่ละชุดด้วยโปรแกรม  3D  ตามขนาดที่เป็นจริง  โดยยึดหลักการตามการออกแบบ  2D 


รูปที่  2.27  ตัวอย่างการออกแบบแม่พิมพ์จาก CAE  และโปรแกรม  3D

(10).  เขียนแบบชิ้นส่วนต่าง  ๆ ในโปรแกรม  3D  และประกอบภาพในคำสั่งประกอบ  Assembly  เพื่อดูภาพแม่พิมพ์


รูปที่  2.28  ตัวอย่างแม่พิมพ์ Forming ที่ออกแบบด้วยโปรแกรม  3D

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น