วันอาทิตย์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2558

การสร้างผิว Punch และ Die จาก CAD Data

การสร้างผิว  Punch  และ Die  จาก  CAD Data
                     วิธีสร้างพื้นผิว  Punch  และ  Die   ผู้เขียนแบบต้องเข้าใจหลักการของการกำหนดสัญลักษณ์ระบบต่างๆในแบบงานเพื่อจะได้เข้าใจว่าจะต้องผิวชิ้นงานเท่ากับขนาด  Punch  หรือ  ขนาด  Die   ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้

รูปที่  2.5    แผนผังโครงสร้างขั้นตอนการสร้าง

(1)   สร้างชิ้นงานจาก  CAD  Data  หรือ  จาก  Part  Drawing  ให้อยู่ในรูป  พื้นผิว  Surface   ด้วยคำสั่งต่าง  ๆเช่น Surface  หรือ  Wire Flame  เพื่อให้การสร้างแบบงานงานในกรณีที่ไม่มี  CAD  Data  เท่านั้น  โดยสร้างจาก    Part  Drawing   เช่นการ สร้าง  Wire  Flame ตามขนาดที่  Part  drawing  หรือนำเข้าภาพชิ้นงานจาก  CAD  Data  ที่ลูกค้าส่งมาแล้ว  สร้างเป็นพื้นผิว  Surface  Modeling  ดังรูป

รูปที่  2.6  ตัวอย่างชิ้นงานที่เป็น  Surface  Modeling

(2)  ดัดแปลงหรือแก้ไขแบบงานเพื่อเตรียมทำผิว  Punch   และ  Die มีหลักการดังนี้
2.1              แก้ไขแบบงานให้ถูกต้องตาม  Part  Drawing
2.2              ปรับแก้แบบงานให้ได้ขนาดที่เผื่อค่าต่าง ๆ เช่น  ค่า  Spring back  แล้ว  ซึ่งอาจหาได้จากหลายวิธี     คือ
กรณีที่ไม่มี  CAE   ช่วยในการจำลองการขึ้นรูปต้องอาศัยความชำนาญ  และการคำนวณจาก  ข้อมูล  ค่าต่าง ๆของวัสดุ เพื่อหาเปอร์เซ็นต์การเด้งกลับแล้วลดมุม หรือขนาดตามที่เผื่อแล้ว     ซึ่งในงาน  กดลากขึ้นรูป  Drawing  อาจะไม่มีการเด้งกลับมากนัก เพราะเนื้อโลหะจะโดนลากตัวจนแข็งและคงรูปหรือมีการเด้งกลับเล็กน้อย   แต่ ในงาน  ปั้มอัด  Forming  จะมีอัตราการเด้งตัวกลับสูงมากกว่า จึงต้องมีการเผื่อค่ามากขึ้นตามคุณสมบัติ โลหะแต่ละชนิดที่นำมาทำชิ้นงาน   หรือถ้าไม่มั่นใจหรือไม่มี  Data  ที่แน่นอนอาจจะต้องทำแม่พิมพ์  ทดลอง  หรือแม่พิมพ์ชั่วคราว  (Soft  Die)  ก่อนเพื่อลดความสูญเสียในการทำแม่พิมพ์จริง
กรณีที่มี   CAE  สามารถใช้จำลองหรือพยากรณ์การขึ้นรูปในคอมพิวเตอร์เพื่อหามุมเด้งกลับและ  ผิวแบบงานที่เผื่อแล้วโดยไม่ต้องคำนวณทำให้สะดวกและมั่นใจกว่าดังรูป

รูปที่  2.7 ตัวอย่างการใช้  CAE  ช่วยจำลองการกดขึ้นรูป

2.3                              ขยายหรือต่อส่วนปีกออกทุกทิศทางในแนวระนาบตามเส้นผิวชิ้นงาน  ตามที่เผื่อ (Binder)  หรือเผื่อสำหรับงาน  Bead   และการจับยึดตามขนาดPunch  หรือ  Die   ที่ออกแบบไว้หรือเป็นหน้าแม่พิมพ์  Dei  Face  ดังรูป

รูปที่  2.8   การขยายส่วนปีกเพื่อทำหน้าพิมพ์  Die  Face

(3)  กำหนดแนวออฟเซตหรือ เส้น  ศูนย์  โดย สังเกตสัญลักษณ์ตามรูป 2.8   เพื่อให้รู้ว่าเวลานำ   แบบงานไปทำโปรแกรมต้อง  ขยับหรือ  Offset  ค่าตำแหน่งเครื่องมือตัดไปในทิศทางใด
รูปที่  2.9   ตัวอย่างสัญลักษณ์  เส้นศูนย์ชิ้นงาน 
                      จากรูปจะเห็นได้ว่า  ผู้ออกแบบยึดขนาด  Punch  เป็นหลัก  คือขนาดชิ้นงานจะเท่ากับขนาด  Punch  และต้องลดขนาด  Die  ลงตามความหนาของชิ้นงาน
(4)   Offset ขนาดชิ้นขนาดให้เป็นขนาด  Punch   หรือ  Die  ตามเส้นศูนย์ กำหนด ว่าให้พั้นหรือ  ดาย  คงที่  ถ้าให้พั้นคงที่ก็ลดขนาดที่  ดาย   หรือถ้าดายคงที่ก็ต้องลดขนาด  พั้น  ตามความหนาชิ้นงานเปลี่ยน ขนาดจาก  เป็น  Upper หรือ Lower  ดังรูป
รูปที่  2.10  ตัวอย่างการปรับแต่ง Surface และเปลี่ยนขนาดชิ้นงาน เป็น  Upper หรือ Lower

                (5) ทำ CAD / CAM และ Generate  Code  แปลงเป็น  NC  Data  พร้อมใส่ค่าเมื่อ Spring Back ให้ได้ขนาดตามคำนวณ ส่งไปยังเครื่อง  CNCเพื่อเตรียมแปรรูปเป็น  Punch  และ  Die  ดังรูป 


รูปที่  2.11  ตัวอย่างการสร้างพื้นผิวจากแบบงานและจำลองการแปรรูป
ข้อสังเกต   ถ้าเส้นศูนย์ อยู่ที่  Punch  แสดงว่าขนาดชิ้นงานเท่ากับ   Punch   เมื่อทำโปรแกรมจะต้องลบค่าที่  Die  ไม่ว่าจะอยู่บนหรือล่าง     

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น