วันอาทิตย์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2558

การออกแบบเพื่อสั่งงานผลิตแม่พิมพ์

การออกแบบเพื่อสั่งงานผลิตแม่พิมพ์
               กระบวนการออกแบบเพื่อสั่งงานผลิต  มีขั้นตอนเหมือนการออกแบบโดยทั่วไปแต่ต้องคำนึงถึงการผลิตและผู้ที่ต้องนำข้อมูลไปผลิตอย่างถูกต้องด้วยซึ่งเขียนเป็นแผนผังได้ดังรูป


รูปที่   3.3   แผนผังตัวอย่าง การออกแบบแม่พิมพ์เพื่อการผลิต
                จากรูปจะเห็นได้ว่าการออกแบบจะต้องศึกษาข้อมูลชิ้นงาน  และเคล็ดลับการขึ้นรูปให้ดีก่อนแล้วจึงมาออกแบบขั้นตอน  ต่าง ๆ  แล้วจึงนำข้อมูลไปสูกระบวนการ  CAM   เพื่อผลิตแม่พิมพ์ซึ่งมีหลักการและขั้นตอนดังต่อไปนี้
(1)Part  Shape  Examination  หรือขั้นตอนการตรวจสอบรูปร่างชิ้นงานตัวอย่าง
                    การรับงานหรือรับ Drawing และข้อมูลและรูปร่างชิ้นงานว่ามีข้อมูลเพียงพอหรือไม่เช่น
1.             Part  Drawing (2D) ,CAD Data (3D)  ซึ่ง ต้องบอก
o   Car line บอกว่าชิ้นส่วนนี้อยู่ตำแหน่งไหนของตัวเรา เช่น B,H
o   รู จะต้องบอก Tolerance
o   Note จะต้องบอก Mat และ Part No., Part Dwg. No. ซึ่งต้อง Run ตามลูกค้า
o   ความหนาของชิ้นงาน เพื่ออ้างอิงที่ CAD 3D ซึ่งจะบอกเฉพาะผิวด้านเดียว และความหนา ณ จุดต่าง ๆ จะยอมรับได้ที่เท่าไร
o   ตรวจสอบ  CAD  Data  กับ  Part  Dwg  ว่ารูปร่างและตำแหน่งของชิ้นงานตรงกันหรือไม่
2.             Process Sheet ส่วนมากมาจากบริษัทแม่ เพราะ ลูกค้าจะกำหนดมาเพราะเกี่ยวกับราคาและขั้นตอนการผลิต
3.             Sample part เพื่อให้ง่ายและมั่นใจว่าลูกค้าเคยวาง Process และใช้ได้มาแล้ว
4.             Sample Drawing  ซึ่งบางทีลูกค้าต้องนำมาให้หรืออาจต้องขอซื้อจากลูกค้า
5.             Data Check Sheet   ที่แผนก QC ต้องใช้ และกำหนดจุดและค่ายอมรับร่วมกันStandard  Data ของแบบงานและค่าคุณสมบัติต่าง ๆ เช่น % clearer มุม Spring back
6.             Press Spec Machine เป็นค่าที่ใช้ออกแบบเพื่อการทำงานกับเครื่องจักร เช่น ร่อง slot ขนาด จับยึด , ตำแหน่ง Cushion
7.             อื่น ๆ เช่น  Master Schedule เพื่อกำหนดว่าจะส่งแม่พิมพ์ได้เมื่อไหร่
(2).  Contract  Review  หรือ  ขั้นตอนทำรายละเอียดและข้อตกลงกับลูกค้า
                           ก่อนที่จะออกแบบแม่พิมพ์ต้องตกลงกับลูกค้าก่อนว่าจะให้แม่พิมพ์มีองค์ประกอบและการใช้งานอย่างไร ซึ่งมีข้อตกลงที่ลูกค้าต้องกำหนดมาดังนี้
1. กำหนด Specification  ประกอบด้วย
o   Process  กี่ขั้นตอนยิ่งน้อยยิ่งดีแต่ต้องดูที่ขนาดและแรงเครื่องด้วย
o   เครื่อง Press กี่ตัน
o   ต้องการให้ใช้  Guide กี่ชุด
o   ปลดงานอย่างไร ใช้การตัดหรือมีชุดยกออก
o   ใช้วัสดุอะไรหรือต้องการแข็งแรงมากแค่ใหน
o   ประกอบอย่างไร
                             2. กำหนด CF ( Checking Fixture )
o    กำหนดรายละเอียดใน Drawing ว่าจะตรวจอย่างไร
o    กำหนดตำแหน่งตรวจ เช่น เป็นรู ค่าที่ใช้ ของ Spent
o    กำหนดวิธีการตรวจสอบ เช่น ใช้เวอร์เนีย , ไมโคร
o    ระยะผิวแก็บใช้ค่าเท่าไหร่
o    ผิวหน้างานระดับความละเอียดขนาดใหน
o    ความเที่ยงตรงกำหนดเป็นจุด เช่น จุด 14 22 ยอมให้ ได้เท่าไร และจุดต่อไปยอมได้เท่าไหร่ เพื่อให้ CAD / CAM แก้ DATA  เช่น  ค่ากลาง 3 หรือบอกทิศทางประกอบไปทิศทางใด 
              3.     กำหนด   Process  Sheet   เพื่อ
o   ตกลงว่ามีงานกี่ขั้นตอน
o   ใช้เครื่องขนาดเท่าไหร่
o   ใช้วัสดุ  อะไร  ขนาดใหน  และน้ำหนักเท่าใด  เป็นต้น
                           4. กำหนด   Die Layout  โดย
o   วาง  Die Concept
o   คุยกับลูกค้า ถึงปัญหาเพื่อให้ยอมรับ
o   ทำ Die  Layout   ตาม  Process  Sheet  
o   ทำ  Die Design  ตาม   Die  Layout  
(3).  Part  Drawing   Adjustments  หรือ การนำเข้าและแต่งผิวงาน
1.             การเตรียมชิ้นงาน
o   นำเข้าแบบงานที่เป็น  CAD  Data  โดยทำ Copy  file
o   ทำการ  Copy  file  ชิ้นงานที่แล้วตั้งชื่อไฟล์ใหม่ โดยใช้ชื่อของ หมายเลขตามบริษัทกำหนด  แล้วตามด้วยชื่อชิ้นส่วนของ DIE เช่น 43001  LWR
2.             สร้างจุดอ้างอิง
o   ในกรณีที่แม่พิมพ์  1  ตัว  ต่อชิ้นงาน  1  ชิ้น  ให้สร้างจุดอ้างอิง  (Center
               ของชิ้นงานใหม่ตาม  Die layout  Dwg  โดยไม่มีการย้ายรูปชิ้นงาน
o   ในกรณีที่แม่พิมพ์  1  ตัว  ต่อชิ้นงาน  ซ้าย-ขวา  2  ชิ้น  ที่รูปร่างไม่เหมือนกัน  ให้ปฏิบัติดังนี้
A.  ใช้ชิ้นงานด้านขวา  (RH)  เป็นหลัก  แล้วสร้างจุดอ้างอิง  (Center)
                B.  สร้างชิ้นงานใหม่  ตาม  Die layout Dwg  โดยไม่ย้ายรูปชิ้นงาน
o   การวางตำแหน่ง โดยใช้คำสั่ง  “Plate”  ดึง  Data  ของชิ้นงานด้านซ้าย  (LH)  เข้ามาอยู่ในด้านขวา  ปฏิบัติดังนี้
A.  ชิ้นงานด้านขวา  (RH)  ที่สร้างจุดอ้างอิง  (Center)  แล้วจัดวางตำแหน่ง
              B.  ชิ้นงานด้านซ้าย  (LH)  ให้ตรงกับ  Die  lay  out  Dwg.                               
3.             ปรับแต่งผิว  Surface  ทำการปรับแต่งผิว  Surface  ให้ได้ตาม  Data  Check  Sheet, Die  Lay  Out  Dwg.  และ  Die  design  Dwg.
(4).   Upper  and   Lower   Offset  หรือการปรับ ลดระดับพื้นผิว
       การหาขนาด Upper และ  Lower  จาก  Modeling  โดยการ เปลี่ยน ขนาดจาก  Part  Modeling  เป็น  Upper หรือ Lower
(5).   Die   Drawing  หรือเขียนแบบชิ้นงาน
                    การทำ  Die   Drawing   มีขั้นตอนดังนี้
1.             เขียนแบบ  ภาพประกอบ  แม่พิมพ์  ตาม  Die  Layout  ดังตัวอย่างภาคผนวก ง
2.              กำหนดรายละเอียดประกอบเพื่อการผลิต  เช่น  ตำแหน่งการประกอบ   พิกัดความเผื่อ     ผิวงาน  วัสดุ   การอบชุบ   หรือ  ขนาดต่าง ๆ
3.              ทำตารางกำหนด  มาตรฐาน   ชื่อบริษัท   ผู้ออกแบบ  ผู้ตรวจสอบ  มาตราส่วน    หมายเลขแบบ  สัญลักษณ์การจับยึด   ฯลฯ
4.             เขียนภาพแยกชิ้น  ชิ้นส่วน ที่ต้องผลิต  และต้องสั่งซื้อ  หรือขนาดวัสดุ
5.             บันทึก และจัดเก็บ  Part Dwg. Record   โดยการกำหนดหมายเลขและลำดับแก้ไข
o     เพื่อเป็นภาพกำหนดมาตรฐาน หมายเลขแบบและขั้นตอนภาพทำงานเพื่อให้การสื่อสาร เข้าใจตรงกันมากยิ่งขึ้น
                   6.  การวางแกน ตำแหน่งและชิ้นส่วนต่าง ๆ เช่น  
o   LWR,  B/H,  UPR, PAD, LIFTER,  SCRAP CUTTER ให้วางแกน X,Y  ตามแบบ
o    CAM  SET  ให้วางโดยให้ด้านล่างของ  CAM  SET  เป็น  ลบ
                   7.  การตั้งชื่อ  USC
                           USC  ต่าง ๆ  ที่สร้างขึ้นเอง  ให้ใช้หลักการตั้งชื่อดังนี้
o    การตั้งชื่อของชิ้นส่วน  เช่น  LOWER  UPPER  PAD  LOWER  CAM-A

o    การกำหนดตัวอักษรเช่นใช้อักษรตัว พิมพ์ใหญ่

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น