ขั้นตอนการออกแบบ Die Layout ในงานกดขึ้นรูป Press
die
การออกแบบ Die Lay out หรือการวางขั้นตอนการขึ้นรูปชิ้นงานว่าจะมีกี่ขั้นตอน ต้องทำแม่พิมพ์กี่ชุด โดยขั้นตอนการออกแบบ Die Layout มีหลักการและขั้นตอนที่สำคัญดังนี้
![]() |
รูปที่ 2.1
โครงข่ายหลักการออกแบบ Die layout
โดยสรุป
2.1. การนำเข้าและเขียนแบบ Part
Drawing จาก CAD Data
การออกแบบแม่พิมพ์และการสร้างแม่พิมพ์จะต้องเริ่มต้นที่แบบชิ้นงาน Part drawing ก่อนว่ามีรูปร่างอย่างไรซึ่งผู้ว่าจ้างจะเป็นผู้ให้มาซึ่งอาจจะอยู่ในรูปแบบ
Data หรือ ข้อมูลที่อยู่ในรูปแบบแผ่นกระดาษแบบงาน หรือ สื่ออิเล็คทรอนิคส์ต่าง ๆ ที่จำเป็นเช่น
1.
Part Drawing
หมายถึง แบบชิ้นงานที่เขยีนอยู่ในรูปแบบงานทีเป็นกระดาษ A0-A4 ตามมาตรฐานขนาดกระดาษ
ซึ่งปัจจุบันบางบริษัทก็ไม่ใช้แล้วหมายถึงส่งแบบเป็น CAD
Data แทน
2. CAD Data หมายถึง แบบชิ้นงานที่อยู่ในรูป File คอมพิวเตอร์ หรือ ข้อมูลต่าง
ๆ ของชิ้นส่วนที่อยู่ในรูปของสื่ออิเลคทรอนิกส์ ซึ่งสะดวกกว่า Part
Drawing ที่ผลิตสามารถแปลงเป็นข้อมูลผลิตได้โดยไม่ต้องเขียนขึ้นใหม่
3.
Modeling Data หมายถึง รูปร่างชิ้นงานที่เป็นพื้นผิว
(Surface) หรือวัตถุทรงตัน (Solid)สร้างจาก CAD
Data

รูปที่ 2.2
ตัวอย่าง Modeling
Data
4.
NC DATA
(Numerical Control Data) หมายถึงข้อมูลต่าง ๆ
ที่ใช้บังคับเครื่องจักรที่ควบคุมด้วยเครื่อง Computer ทำงาน ที่แปลงจากพื้นผิว (Surface) มาเป็นเส้นทางเดินมีดตัด (Tool
path)
5.
Sample Part หรือตัวอย่างชิ้นงานที่ลูกค้ามีหรือเคยการทำการขึ้นรูปมาแล้ว
กรณีบางครั้งมีการทำแม่พิมพ์ชิ้นงานทีเคยทำมาแล้วก็จะมีชิ้นงานตัวอย่างให้ดูด้วย
ดังรูป

รูปที่ 2.3
ตัวอย่าง Sample Part
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น