การกำหนดจำนวนชิ้นงาน
ความสำคัญของจำนวนชิ้นงาน คือ
จะมีผลถึงการออกแบบ Die Lay
Out เพราะถ้าเป็นชิ้นเดียวจะไม่มีปัญหา แต่ถ้าเป็นชิ้นงาน ซ้าย,
ขวา
จะมีปัญหาเรื่องการต่อชิ้นงานว่าจะต่ออย่างไร โดยมีหลักในการพิจารณาดังนี้
(1)
ความสมดุล
คือความสมดุลของชิ้นงาน ซ้าย ขวา ดังรูป

รูปที่ 2.9 ตัวอย่างการวางชิ้นงานแบบ 2
ชิ้น
(2) ความเป็นไปได้
ในการขึ้นรูป ของชิ้นงาน เช่น
การตัด การเจาะ ว่า สามารถทำได้หรือไม่
(3) ความประหยัด โดยการวางตำแหน่งชิ้นงานต้องคำนึงถึงการประหยัด Blank
Size ด้วย
2.6 กำหนดทิศทางการป้อนชิ้นงาน
(Feed)
จุดสำคัญของการกำหนดทิศทางป้อนชิ้นงานหรือ
Feed
คือจะต้องสามารถป้อนชิ้นงานได้สะดวกไม่มีอะไรมากีดขวางทางเข้าของชิ้นงานได้ ถ้าเป็นไปได้ควรกำหนด Feed
ให้ไปในทิศทางเดียวกัน
เพื่อป้องกันการสับสนของผู้เขียน Die Design
Drawing. และการจัดทำ Program แต่ทั้งนี้จะต้องดูความสัมพันธ์กับขั้นตอนการทำงานขั้นตอนต่อไปด้วย ดังรูป

รูปที่ 2.10
ขั้นตอนการกำหนดทิศทาง
Feed
2.7 เส้นแนวเขต
(Profile)
การกำหนดเส้นแนวเขต ( Profile) หรือเส้นแนวขอบขึ้นรูป
จะกำหนดสัญลักษณ์ต่างกันและขอบแนวไม่เท่ากันตามหลักการดังนี้
(1) งาน Draw
หลักการเขียน
เส้น Profile ต้องให้อยู่ตรงมุมของชิ้นงาน แต่งานบางงานที่มีพื้นที่จำกัด หรือจำเป็นต้องใส่ลอนบังคับ (Bead) ด้านใน เส้นแนวเขต ต้องขยับออกไป
เพื่อเผื่อพื้นที่เหยียบแผ่นเปล่า (Blank
Holder) ออกไปให้เพียงพอ
(2) งาน Form
และ งาน Blank
กรณีที่ 1
ถ้าต้องการป้องกัน Spring
Back ของชิ้นงานให้เส้น Profile อยู่ตรงสุด รัศมี (R)
กรณีที่ 2
ถ้าไม่ต้องการป้องกัน Spring Back ของชิ้นงานให้เส้น Profile อยู่ตรงมุมพอดี ดังตัวอย่าง

รูปที่ 2.11 การกำหนดแนวเส้น Profile
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น