วันอาทิตย์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2558

การกำหนดแนวระนาบ ผิวหน้าแม่พิมพ์ Die Face Design

การกำหนดแนวระนาบ ผิวหน้าแม่พิมพ์ (Die Face Design)
Die  Face    หมายถึงการออกแบบและกำหนดผิวหน้าแม่พิมพ์ที่รูปร่างซับช้อนและผิวหน้าโค้งนูน  หรือสูงต่ำต่างกันให้สามารถขึ้นรูปได้ง่านและลดขั้นตอน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการออกแบบ  Die  Lay-out   เนื่องจากงานกดขึ้นรูปชิ้นงานรูปทรงไม่สมมาตร (Irregular  Shape) มักมีปัญหาคือความสูงแต่ละระดับไม่เท่ากัน  ทำให้ต้องเอียงหาระดับที่ต่ำสุดเพื่อลดขั้นตอนการขั้นรูป ดังนั้นอาจทำให้หน้าระนาบผิวหน้าแม่พิมพ์เปลี่ยนไป  จึงต้องมีการศึกษาและวิเคราะห์ความเหมาะสมในการกำหนดระนาบผิว  หรือออกแบบผิวหน้าแม่พิมพ์ (Die  Face  Design) ให้สามารถขึ้นรูปได้ดีที่สุด        
หลักการเขียน  Die  Face  คือ  พยายามทำให้ผิวเรียบมากที่สุด  โดยพิจารณาจาก  Curve  ของชิ้นงานให้ความสูงเท่า ๆ  กันในแนวดิ่ง    ในกรณีมีการเพิ่มค่า  Spring  Back  ที่หน้า  Die  ให้กำหนดลงใน  Die  Lay  Out  ด้วย ซึ่งการกำหนดผิวหน้าแม่พิมพ์มีหลักการดังนี้
1. การกำหนด  Die  Face  ต้องทำเมื่อผิวหน้างานมีความเอียงหรือโคงนูน หรือจำเป็นเท่านั้น เพราะยิ่งออกแบบ  ผิวหน้าโค้งนูนมาก  ยิ่งทำยากและขึ้นรูปยากด้วย
2.             การออกแบบDie  Face ส่วนมากมักจะใช้ในงานที่เป็นการ  กดลากขึ้นรูป (Drawing) เพราะงานกดลากที่รูปร่างไม่สมมาตรและความลึกไม่เท่ากันมักจะมีปัญหาในการขึ้นรูป ถ้าวางทิศทางผิดทำไห้สัดส่วนความสูงมาก อาจทำให้เกิดการฉีกขาด  หรือถ้า เอียงมุมให้งานตื้นขึ้นแต่อาจจะต้องทำหน้าแม่พิมพ์มีความเอียงนูนเปลี่ยนระนาบผิวหน้าไป ทำให้ขึ้นรูปยาก    ถ้าเป็นงานกดอัด ที่มีการวางชิ้นงาน  2 ชิ้นอาจทำให้ต้องมีการกำหนด  Die  Face  แต่ส่วนใหญ่แล้วงานกดอัดไม่นิยมให้มี  Die  Face  เพราะเป็นเพียงการกดอัดให้ชิ้นงานอยู่ภายในเท่านั้น
3.             Die  Face  ควรกดแผ่นชิ้นงานพร้อม ๆ กันในจังหวะทำงาน
4.             ต้องเผื่อพื้นที่ สำหรับเหยียบหรือ ใส่ลอน (Bead)  บังคับการขึ้นรูป
5.             พยายามให้เป็นหน้าเรียบได้ยิ่งดี ถ้าระดับความสูงของชิ้นงานไม่แตกต่างกันมาก
6.             Die  Face  ยิ่งโค้งมากยิ่งผลิตยาก  ทำให้ราคาแพง และขึ้นรูปยาก
7.             งาน Forming  ธรรมดาไม่ควรใส่  Die  Face  เพราะเป็นการอัดชิ้นงานไม่มีการกดลาก
ต้องกำหนดผิวหน้าให้สัมพันธ์กับทิศทางการปั้ม(Press)    การไหลตัวของเนื้อโลหะรอบทิศทางตามความสูงและความกว้าง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น