การสร้างแบบและผิวชิ้นงานจาก
CAD
Data
2.1.1.
การนำเข้าและเขียนแบบ Part Drawing จาก CAD Data
การออกแบบแม่พิมพ์และการสร้างแม่พิมพ์จะต้องเริ่มต้นที่แบบชิ้นงาน Part
Drawing ก่อนว่ามีรูปร่างอย่างไรซึ่งผู้ว่าจ้างจะเป็นผู้ให้มาซึ่งอาจจะอยู่ในรูปแบบ
DATA หรือ
ข้อมูลที่อยู่ในรูปของสื่ออิเล็คทรอนิคส์ต่าง
ๆ
ที่จำเป็นซึ่งมีขั้นตอนดังต่อไปนี้

รูปที่ 2.1 แสดงแผนผังการตรวจสอบและเตรียมชิ้นงานก่อนออกแบบแม่พิมพ์
(1) ตรวจสอบรายละเอียดชิ้นงานและเครื่องจักรของลูกค้า
การตรวจความสมบูรณ์ ถูกต้องของข้อมูลต่าง ๆ
ที่เกี่ยวกับงานถือเป็นขั้นตอนที่สำคัญก่อนออกแบบเพื่อป้องกันปัญหาที่เกิดตามมาซึ่งข้อมูลที่สำคัญต้องศึกษาและตรวจสอบมีดังนี้
1.1
วัสดุชิ้นงานเป็นวัสดุอะไร คุณสมบัติ
ส่วนผสม ความแข็ง การสปริงแบ็ค ฯลฯ
1.2
ความหนาของชิ้นงาน(T)
1.3
จำนวนการผลิต
1.4
ลักษณะการใช้งาน
1.5
ข้อมูลเครื่อง(Machine Spec) Press
1.6
ตำแหน่งประกอบและตำแหน่งตัวกระทุ้ง Cushion
(2). ตรวจสอบข้อมูล Data
ข้อมูลหรือแบบชิ้นงานทั้งที่อยู่ในรูปแบบงานทีเป็นกระดาษ A0-A4 หรือแบบเป็น CAD Data ต้องตรวจรายละเอียดก่อนออกแบบคือ
2.1
ตรวจสอบข้อมูลอาจจะเป็นข้อมูลหรือแบบงานที่เป็นแบบงานกระดาษ Part
Drawing หรือที่เป็นแบบงานอิเล็กทรอนิคส์เช่น(CAD Data) หรือ Modeling Data หมายถึง
รูปร่างชิ้นงานที่เป็นพื้นผิวสร้างจาก
CAD Data ซึ่ง File ที่สามารถแปลงเป็นรูปชิ้นงานได้มีนามสกุล
ดังต่อไปนี้

รูปที่ 2.2 แสดงนามสกุลต่างๆที่
ใช้ในการส่งแบบชิ้นงาน
จากรูปจะเห็นได้ว่าการแปลงรูปชิ้นงานไปใช้ในโปรแกรมต่าง ๆสามารถ
บันทึกใหม่แล้วตามด้วยนามสกุลซอฟท์แวร์
ที่เราต้องการเปิดใช้
หรือใช้นามสกุลที่เป็นสากลเพื่อส่งไปยัง
โปรแกรม CAD CAM ยี่ห้อต่าง ๆ เช่น
·
IGES ซึ่งมีนามสกุลหลัก คือ .igs,
.ige, .iges
·
STEP มีนามสกุลดังนี้คือ .stp ,
.ste , .step
2.2
พิกัดความเผื่อและผิว
2.3
ตำแหน่งตรวจสอบ (Checking Point)
2.4
ขนาดตรวจสอบ (Data
Checking)ตำแหน่งและ
ระนาบบังคับ ฯลฯ
2.5
ตรวจ NC
(NUMERICAL CONTROL) DATA (ถ้ามี)
2.6
Sample Part หรือตัวอย่างชิ้นงาน ที่ลูกค้าเคยผลิตไว้แล้ว
(3). คัดลอกไฟล์ หรือนำเข้าชิ้นงานCopy file
ทำการนำเข้าแล้วคัดลอก Copy
file ชิ้นงานที่จะทำ และตั้งชื่อ
file ใหม่ โดยใช้ชื่อของ หมายเลขตามมาตรฐานที่บริษัทกำหนด แล้วตามด้วยชื่อชิ้นส่วนของ DIE
เช่น 43001 LWR เพื่อให้ทราบว่า
แบบงานชิ้นนี้เป็นอะไร
มาจากบริษัทใด
ทำให้งายต่อการทำความเข้าใจและการสื่อสาร
หรือปรับปรุงข้อมูล
(4). วางชิ้นงานและสร้างจุดอ้างอิง
4.1 ในกรณีที่แม่พิมพ์ 1
ตัว ต่อชิ้นงาน 1
ชิ้น ให้สร้างจุดอ้างอิง (Center)
ของชิ้นงานใหม่ตาม Die lay
out Dwg. โดยไม่ต้องย้ายรูปชิ้นงาน
4.2
ในกรณีที่แม่พิมพ์ 2 ตัว
ต่อชิ้นงาน ซ้าย-ขวา 2
ชิ้น ที่รูปร่างไม่เหมือนกัน ให้ปฏิบัติดังนี้
4.2.1
ใช้ชิ้นงานด้านใดด้านหนึ่ง
เป็นหลัก แล้วสร้างจุดอ้างอิง (Center)
ออกจาก
ขอบชิ้นงานเล็กน้อย แล้วทำการสะท้อนภาพ (Mirror) ให้เป็นภาพชิ้นงานอีกรูป ถ้ามีขนาดสัดส่วนเท่ากันก็ไม่ต้องแก้ไข แต่ถ้าชิ้นงานด้ายซ้าย ขวาไม่เหมือนกันต้องแก้ไขตามแบบ
4.2.2 เมื่อได้ชิ้นงานใหม่ ตาม Die layout Dwg. ต้องไม่ย้ายรูป
ชิ้นงานด้านใดด้านหนึ่งอีกจะทำให้ตำแหน่งงานไม่สมดุลหรือมีผลต่อการวางขั้นตอนต่อไป หรือตำแหน่งแรงปั้มงานไม่สมดุล
4.3
หลังจากใช้คำสั่ง “Plate” ดึง Data
ของชิ้นงานด้านซ้าย
(LH)
เข้ามาอยู่ใน File ของชิ้นงานด้านขวา (RH) ที่สร้างจุดอ้างอิง (Center) แล้วและจัดวางตำแหน่ง ของชิ้นงานด้านซ้าย (LH) ให้ตรงกับ
Die lay out
ดังรูป

รูปที่ 2.3 ตัวอย่างการวางชิ้นงานแบบ 2 ชิ้น
(5). ปรับแต่งผิว Surface
การปรับแต่งผิว Surface ต้องทำให้ได้ตาม Data
Check Sheet, Die Lay
Out
และ Die
design ซึ่งการปรับแต่งผิวชิ้นงานมีหลักการดังนี้คือ
5.1 ปรับแต่งส่วนเกิน หรือผิวงานที่จาก CAD
Data อาจเกินมาเนื่องจากการแปลงหรือการใช้โปรแกรมคนละยี่ห้อกันทำให้มีความผิดพลาดหรือขนาดสัดส่วนเกินมา ต้องทำการตรวจสอบ และตัด ต่อให้สมบูรณ์ก่อน
5.2 ปรับแต่งเส้นโครงสร้างที่เกิดจากการส่งหรือแปลงข้อมูลทำให้เส้นไม่เป็นไปในทิศทางที่การหรือเกิดรอยต่อที่ไม่สมบูรณ์คือเกิดเส้นทับซ้อนกันหรือเส้นรอยต่อไม่สนิทกัน
ต้องทำการลบหรือตัดออกก่อนแล้วจึงสร้างหรือดัดแปรงใหม่ให้สมบูรณ์ ดังรูป

รูปที่ 2.4 ตัวอย่างแบบงานที่ต้องแก้ไขเนื่องจากเส้นไม่สมบูรณ์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น