การกำหนดเส้นแนวตัด Trim
Line
หลักการกำหนดเส้นแนวตัด มีหลักในการพิจารณาดังนี้
(1). เส้นแนวตัดจะเท่ากับเส้นขอบงาน
แบล็งค์ หรือเส้นขอบงานจริงที่ต้องการ
(2). ในบางกรณีที่ต้องเหลือส่วนพื้นที่ไว้สำหรับเหยียบ หรือ เผื่อไว้ขึ้นรูปส่วนอื่นต้องเหลือพื้นที่ไว้สำหรับขึ้นรูปส่วนนั้นก่อน
จึงตัดออกทีหลัง แต่บางงานที่มีพื้นที่จำกัด หรือจำเป็นต้องใส่ลอนบังคับ (Bead) ด้านใน เส้นแนวเขต ต้องขยับออกไป
เพื่อเผื่อพื้นที่เหยียบแผ่นเปล่า (Blank
Holder) ออกไปให้เพียงพอ
(3). เส้นแนวตัดแยก (Separate) อาจจะตัดแค่บางส่วนก่อนยังไม่ต้องให้งานแยกจากกันเพื่อทำขั้นตอนต่อไป
(4). เส้นแนวตัดจะแสดงในขอบงานนอกส่วนขึ้นรูปและ
มักจะตัดหลังจากขึ้นรูปแล้วเพราะจะไม่ทำให้ขนาดเปลี่ยนไปหลังการขึ้นรูปในขั้นตอนต่าง
ๆ
ข้อเสนอแนะ
(1).พิจารณาลักษณะโครงสร้าง ของส่วนที่เป็นคมตัด ซึ่งขึ้นอยู่กับปริมาณการผลิต รูปร่างและความหนาของชิ้นงาน ว่ามีความแข็งแรงพอหรือไม่ และเครื่องเพรสว่าสามารถรับ Load
ได้หรือไม่
ถ้าไม่พอควรเฉลี่ยไปขึ้นขั้นตอนอื่นได้หรือไม่
(2).
พิจารณาการตัดเศษ หรือสแครป (Scrap) ในกรณีที่ตัดชิ้นงานรอบตัว เศษที่ตัดออกมาจะตกค้างอยู่ในแม่พิมพ์ จึงต้องหาวิธีการนำเอาเศษออก
ถ้าต้องการให้เศษเหล่านี้ไหลออกมาเองหรือต้องการให้แยกออกเป็นชิ้นเล็กจำเป็นต้องพิจารณา ถึงตำแหน่งการวางคมตัดสำหรับตัดเศษ ซึ่งเรียกว่าตัวตัดเศษหรือสแครป คัตเตอร์
(Scrap Cutter) ให้เหมาะสม
2.13 ขนาดและความสูง Punch
ขนาดและความสูงพั้นต้องคำนึงถึงด้วยและต้องพิจาณาเผื่อค่าต่างๆ ดังนี้
(1). กรณีที่ขนาดใน Part Drawing
มี Limit ค่า
มาด้วย ขนาด Punch ให้ใช้ค่ากึ่งกลาง เช่น
Part Drawing
กำหนด
12 -0.1+0.3 ขนาด Punch ที่ใช้คือ
12.2 -0.3



(2) กรณีที่ขนาดใน Part Drawing
มี Limit ค่า
มาด้วย ขนาด Punch ให้ใช้ค่ากึ่งกลาง ถ้าทศนิยม
2 ตำแหน่ง ให้ปัดขึ้นเป็นค่าทศนิยม 1 ตำแหน่ง เช่น Part Drawing
กำหนด
12.00+0.1 ขนาด
Punch
คือ
12.1



(3) กรณีที่ขนาดใน Part Drawing
ไม่มี Limit ค่า
มาให้ใช้ Limit
คือ 0 ซึ่งค่ากึ่งกลาง คือ
0.1 เช่น Part
Drawing กำหนด
12+0.1
ขนาด Punch ที่ใช้คือ
12.1



2.14 การวางแผ่นเปล่า (Blank) และการกำหนดระยะ Pitch
(1).
การวางแผ่นเปล่า (Blank) จะต้องคำนึงถึงสิ่งดังต่อไปนี้
1.1 ใช้วัสดุอย่างเต็มที่หลีกเลี่ยงการเสียเศษ หรือให้มีน้อยที่สุด
1.2 ไม่มีรอยเยิน
(ครีบ) หรือมีในค่าที่ยอมรับได้
(2). การกำหนดระยะ
Pitch

รูปที่ 2.12 การเผื่อขนาดแผ่น Strip และระยะ Pitch
2.1 ความกว้างของขอบ Blank
ที่เป็นรัศมี R ถึงขอบแผ่น Strip
ความยาวชิ้นงาน
L
|
ความกว้าง
|
ความยาว
|
||
A
|
A min
|
b
|
B min
|
|
0 ~ 25
|
0.8 x t
|
0.8
|
0.7 x t
|
0.6
|
25 ~ 75
|
1.0 x t
|
1.2
|
1.0 x t
|
0.8
|
75 ~
150
|
1.2 x t
|
1.8
|
1.2 x t
|
1.2
|
150 ~
250
|
1.3 x t
|
2.4
|
1.3 x t
|
1.8
|
250 ~
400
|
1.5 x t
|
3.0
|
1.5 x t
|
2.4
|
ตารางที่ 2.1 แสดงค่าเผื่อขอบงานตัดกรณี เป็นรัศมีโค้ง
2.2 ความกว้างของขอบ Blank
ที่ตรงถึงขอบแผ่น
หรือความยาว
L
|
ความกว้าง
|
ความยาว
|
||
A
|
a min
|
B
|
B min
|
|
0 ~ 25
|
1.0 x t
|
1.2
|
0.8 x t
|
1.0
|
25 ~ 75
|
1.2 x t
|
1.6
|
1.0 x t
|
1.2
|
75 ~
150
|
1.5 x t
|
2.0
|
1.2 x t
|
1.5
|
150 ~
250
|
1.7 x t
|
2.5
|
1.5 x t
|
2.0
|
250 ~
400
|
2.0 x t
|
3.0
|
1.7 x t
|
2.5
|
ตารางที่ 2.2 แสดงค่าเผื่อขอบงานตัดกรณีขอบตรง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น